ทำความรู้จักกับเครื่องเงินจากภาคเหนือ

CategoriesLifestyleTagged

ตามประวัติศาสตร์ไทยนั้น “เครื่องเงิน” มีความเป็นมาตั้งแต่อดีตมาเนิ่นนาน มีการใช้งานในหลากหลายรูปแบบให้เราได้ศึกษาค้นคว้ากัน เพราะเราเชื่อกันว่าคงมีหลายท่านไม่รู้จักประวัติของเครื่องเงินกันเป็นแน่ครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “เครื่องเงินจากทางภาคเหนือ” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับผม

เครื่องเงิน หมายถึงอะไร?

เครื่องเงิน คือการนำเงินที่เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นโลหะสีขาวมีลักษณะแข็ง นำมาตีแผ่เป็นแผ่นหนาบางหรือเปลี่ยนรูปทรงต่างๆ และผ่านการหลอมละลายให้อ่อนตัวขึ้นรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โดยมีราคารองลงมาจากธาตุทองคำ โดยเงินพบในธรรมชาติทั่วไป มีทั้งชนิดก้อนและชนิดผงที่ปนอยู่ในทราย  ซึ่งมนุษย์รู้จักนำเงินมาใช้ประโยชน์นานพอกับการนำทองคำมาใช้ การทำเครื่องเงินของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินในสมัยอยุธยาเป็นเครื่องประดับสำหรับชนชั้นกลาง ซึ่งต่างกับเครื่องประดับทองซึ่งเป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูง

กรรมวิธีการทำเครื่องเงิน

วิธีการทำเครื่องเงินสามารถแยกได้ดังนี้

·การหุ้ม คือ การตีหรือรีดเงินเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาหุ้มหรือคลุมวัตถุสิ่งของต่างๆ ให้เหมือนว่าวัตถุนั้นทำด้วยเงินทั้งหมด 

·การเลี่ยม คือ วิธีหุ้มอย่างหนึ่ง แต่หุ้มเฉพาะขอบ  เช่น  เลี่ยมพระ  เลี่ยมขอบภาชนะนั้นเองครับ

·การหล่อ คือ การใช้แม่พิมพ์เป็นแบบแล้วนำโลหะเงินที่หลอมละลายเทลงในแม่พิมพ์ให้เป็นรูปและลวดลายตามแม่พิมพ์นั้น

·การดุน หมายถึง การตีหรือรีดแผ่นเงินให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วใช้เครื่องมือกดบนผิวหน้าโลหะให้เกิดเป็นรอยลวดลายเรียกว่า  ลายดุนหรือรูปดุน

·แกะลาย  หมายถึงการทำลวดลายโดยใช้วัตถุมีคม ยกตัวอย่างเช่น  ใช้สิ่วแกะเงินให้เกิดเป็นลวดลาย  ซึ่งลวดลายจากการแกะสลักลายจะมีลักษณะนูน ซึ่งภาชนะเครื่องเงินของทางภาคเหนือนิยมทำลวดลายนูนมากที่สุด

·กะไหล่ คือ การเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทอง โดยการหลอมละลายให้โลหะเงินหรือทองเหลว  แล้วนำไปทาหรือเคลือบให้ติดบนโลหะอื่น

·การคร่ำ คือ การเอาเงินฝังเป็นลวดลายในโลหะเทคนิคการคร่ำมีทั้งโลหะที่เป็นเงินและทองคำ  เรียกว่า คร่ำเงินและคร่ำทอง  นิยมทำกับภาชนะมีคม  เช่น  ด้ามมีดหรือปักมีดในสมัยโบราณลวดลายที่นำมาใช้ประกอบกับเครื่องเงินนั้นเองครับ

ทำความรู้จักเครื่องเงินจากทางภาคเหนือ

เครื่องเงินของทางภาคเหนือที่มีชื่อเสียงนั้นก็คือ “เครื่องเงินจากเมืองน่าน” ซึ่งน่านคือแหล่งของเครื่องเงินที่ภูมิปัญญาของชาวน่านได้ทำการผลิตมาอย่างช้านาน ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

แบบเงินดั้งเดิมและแบบชมพูภูคา โดยแบบดั้งเดิมจะมีรากมาจากการกวาดต้อนช่างเงินและช่างทองมาจากฮ่อน้อย ฮ้อหลวง เมืองยองและเชียงแสน มายังบริเวณบ้านประตู่ป่องเมืองน่าน จนเกิดเป็นภูมิปัญญาท่องถิ่นที่โด่งดังเลื่องชื่อโดยฝีมือของเผ่าเมี่ยนและเผ่าม้ง โดยเครื่องเงินของจังหวัดน่านจะมีจุดเด่นคือ จะนิยมใช้เม็ดเงินที่มีค่าความบริสุทธิ์สูงถึง 98% ซึ่งนับว่าเป็นค่าความอ่อนตัวสูงที่สุดในบรรดาเครื่องเงินชองแต่ละภาคและสูงกว่าเนื้อเงินของเครื่องเงินทั่วไป จึงเป็นเครื่องเงินที่ขึ้นรูปได้ง่าย มีลวดลายสะสวยซับซ้อนมากกว่าเครื่องเงินทั่วๆ ไป มักจะทำลวดลายเป็นดอกไม้ เช่น ดอกกระถิน ลายตาสับปะรด หรือลายสิบสองนักษัตร เป็นต้นครับ

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “เครื่องเงินของภาคเหนือ” ที่น่าสนใจพร้อมกับความรู้ต่างๆ มากมายที่เกี่ยวกข้อง อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับแร่ธาตุอย่างเงินที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเงินนั้นเองครับ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้อยากให้ท่านผู้อ่านได้ลองสัมผัสกับเครื่องเงินที่มีคุณภาพเหล่านี้กันนะครับ

About the author