แนวทางการดับไฟในห้องครัวเวลาฉุกเฉิน

CategoriesUncategorizedTagged

เรื่องความร้อนและเปลวไฟนั้น เป็นสิ่งที่คู่กันกับ “ห้องครัว” และการประกอบอาหารกันอยู่แล้วถูกมั้ยครับ ดังนั้นการที่จะเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟไหม้นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้หากเราประมาทนั้นเอง วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพบกับ “แนวทางการดับไฟในห้องครัวเวลาฉุกเฉิน” ที่น่าสนใจและใช้เป็นวิธีรับมือเบื้องต้นกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเลยย

องค์ประกอบของการเกิดการ เผาไหม้

     “ไฟ หรือ การเผาไหม้”  เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันคือ  “การเผาไหม้”  นั่นเอง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาร่วมระหว่างองค์ประกอบ 3 สิ่ง  คือ  เชื้อเพลิง (Fuel)  ออกซิเจน (Oxygen)  และความร้อน  (Heat)  ในสภาวะที่เหมาะสมแล้วให้พลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง

          นอกเหนือจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้วจะต้องมี  ปฏิกิริยาลูกโซ  (Chain Reaction)  ของการสันดาปกล่าวคือ  เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้  และมีออกซิเจนในอากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16  ไฟก็ติดขึ้น  โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงๆ จนแปลสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่  ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบของการเผาไหม้เป็นรูปแบบพีรามิดของไฟแต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด  การสันดาปก็จะหยุดลง ดังนั้นองค์ประกอบในการเผาไหม้มีอยู่  4  องค์ประกอบ  คือ

1.เชื้อเพลิง (Fuel) 

คือ  วัตถุใด ๆ  ก็ตามที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้  เช่น  ก๊าซ  ไม้  กระดาษ  น้ำมัน  โลหะ  พลาสติก  เป็นต้น  เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะก๊าซจะสามารถลุกไหม้ไฟได้  แต่เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่สามารถลุกไหม้ไฟได้  ถ้าโมเลกุลที่ผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ  การที่โมเลกุลของแข็งหรือของเหลวนั้นจะสามารถแปรสภาพกลายเป็นก๊าซได้นั้นจะต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

2.ออกซิเจน (Oxygen) 

อากาศที่อยู่รอบ ๆ  ตัวเรา  นั้นมีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21%  แต่การเผาไหม้แต่ละครั้งนั้นจะต้องการออกซิเจนประมาณ 16%  เท่านั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในอากาศรอบ ๆ  ตัวเรานั้นจะถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจน  ซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ยิ่งถ้าปริมาณออกซิเจนยิ่งมากเชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น  และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบเลย

3.ความร้อน  (Heat) 

คือพลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดความคลายไอออกมา

4.ปฏิกิริยาลูกโซ่  (Chain  Reaction)  หรือการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง 

คือ  กระบวนการเผาไหม้ที่เริ่มต้นต้องแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟขึ้น  หมายถึง  การเกิดปฏิกิริยา  กล่าวคือ  อะตอมจะถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิง  กลายเป็นอนุมูลอิสระ  และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐานของไฟอย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดเปลวไฟ

แนวทางการดับไฟในห้องครัว

จากข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเกิดการเผาไหม้ ถ้าหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ก็จะไม่เกิดการเผาไหม้นั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น ไฟไหม้กระทะ สิ่งที่ไม่ครวทำก็คือการราดน้ำลงไปในกระทะ เพราะจะทำให้เกิดเพลิงไหม้มากกว่าเดิม สิ่งที่ควรทำคือ หาผ้าชุบน้ำเปียกๆ และนำมาปิดกระทะเพื่อ “ตัดออกซิเจน” สำหรับการเผาไหม้ นั้นเองครับ

แนะนำการป้องกันเพลิงไหม้

►เพิ่มความระมัดระวังในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับไฟ

มีหลายกิจกรรมภายในบ้านที่เกี่ยวข้องกับไฟ เช่น การจุดธูปเทียน การจุดยากันยุง การประกอบอาหารด้วยถ่าน หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรระมัดระวังและทำภายใต้การเฝ้าระวังของคนในบ้าน หากทำจุดธูปเทียน หรือจุดยากันยุง จะต้องมีคนคอยดูจนกว่าจะดับสนิท ไม่ทิ้งบุหรี่โดยที่ไม่ดับไฟ และไม่ทำกิจกรรมใกล้กับวัตถุที่ติดไฟง่าย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุไฟไหม้ได้มากแล้ว

ติดตั้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่ได้มาตรฐาน

อุปกรณ์เตือนภัยหรือสัญญาณเตือนไฟไหม้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับอาคารต่าง ๆ เพราะสามารถช่วยแจ้งเตือนลูกบ้านที่อยู่ภายในอาคารได้ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งจะทำให้ผู้ที่อยู่ในอาคารไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป สำหรับบ้านพักอาศัยก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ได้เช่นกัน

ติดตั้งเครื่องตัดไฟเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

สำหรับบ้านและอาคารควรมีเครื่องตัดไฟอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำงานเมื่อแผงวงจรไฟฟ้าเกิดประกายไฟขึ้น

และนี้ก็คือข้อมูลและข้อมูลเกี่ยวกับ “แนวทางการดับไฟในห้องครัวเวลาฉุกเฉิน” พร้อมกับความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของการเกิดการเผาไหม้นั้นเองครับ หวังว่าจะทำให้เข้าใจและดับไฟระต้นได้อย่างทันถ่วงทีกันนะครับ

About the author