รู้จักกับ แท่นขุดเจาะ

CategoriesUncategorizedTagged

หลายๆ ท่านเคยอ่านและดูสารคดีเกี่ยวกับ “แท่นขุดเจาะน้ำมัน” กันมาบ้างมั้ยครับ ซึ่งพนักงานอาชีพที่ต้องทำงานท่ามกลางทะเลเป็นเวลาหลายเดือนเลยก็ว่าได้ แต่เราชื่อว่าหลายๆ ท่านก็คงจะไม่ค่อยจะทราบเกี่ยวกับ “แท่นขุดเจาะ” กันเป็นแน่ วันนี้เราเลยอยากพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

แท่นขุดเจาะน้ำมัน

Oil pumping station หรือ แท่นขุดเจาะน้ำมัน คือ เครื่องที่ผลิตมาเพื่อในการปั้มน้ำมันโดยเฉพาะ ในอุสหกรรมการผลิตน้ำมันส่วนใหญ่จะใช้เครื่องปั้มน้ำมันแบบคานโยก โดยอาศัยหลักการทำงานของความดันเพื่อดันให้ของไหลที่อยู่ใต้พิภพไหลขึ้นมาบนผิวโลก มอเตอร์จะทำการ rotating แล้วส่งต่อโมเมนต์ไปยังคานโยก คานโยกจะทำการส่งต่อโมเมนต์ไปยังก้านสูบในรูปของการเครื่องที่แนวเส้นตรง ก้านสูบจะทำการปั้มน้ำมันที่มีความดันต้ำให้ขึ้นมายังบนผิวโลก แล้วส่งต่อไปยังท่อเพื่อคัดแยก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการปั้มน้ำมันมีอยู่ 2 อย่าง หากได้ น้ำมันดิบ จะถูกแยกออกจากทางด้านหลังของเครื่องแยกสถานะ แล้วถูกส่งเข้าไปในระบบแยกไอก๊าซส่วนเกิน (Knock-out drum) เพื่อรักษาค่าความดันไอให้มีสถานะของเหลวที่คงตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการส่งไปเก็บรักษายังเรือกักเก็บเพื่อรอการจาหน่าย หากได้ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติมีน้ำหนักเบาที่สุด จะถูกแยกออกทางด้านบนของเครื่องแยกสถานะ จากนั้นก็ถูกส่งเข้าไปในระบบอัดความดัน (Compressor) ก่อนถูกส่งไปที่ระบบดูดความชื้น เมื่อทำการแยกของไหลออกจากกันเเล้วจะเข้าสู่กระบวนการเก็บเพื่อรอการขนส่งไปในกระบวนการต่อไป ซึ่งประเทศไทยจะมีแท่นขุดเจาะกลางทะเลใหญ่ๆ 

●แหล่งขุดเจาะจัสมินกับบานเย็น แหล่งผลิตน้ำมันดิบได้ 12,000 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะบัวหลวงผลิตน้ำมันดิบได้ 7,400 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะสงขลาผลิตน้ำมันดิบได้ 17,500 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะเอราวัณแหล่งนี้ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ของประเทศเราเลยเนื่องจากเป็นแหล่งที่ผลิตน้ำมันดิบได้มากที่สุดต่อวันถึง 30,000 บาร์เรลต่อวัน อีกทั้งแหล่งนี้จะเป็นเหมือนกับหลายๆแหล่งมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็น บรรพต, ปลาทอง, สตูล, แหล่งไพลิน อีกทั้งยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวอีก 53,800 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะทานตะวันที่ผลิตน้ำมันดิบได้มากถึง 25,000 บาร์เรลต่อวัน

หลักการทำงานของแท่นขุดเจาะน้ำมัน

เมื่อพบแหล่งปิโตรเลียมเเล้วพบว่ามีแหล่งปิโตรเลียมในระดับความลึกที่เหมาะสม จะทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำมัน สาเหตุที่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำมันเพราะปกติแล้วในพื้นที่แหล่งปิโตรเลียมจะอยู่ปะปนกับธาตุอื่นเช่น ทรายหรือดินซึ่งมีความดันไม่มากนัก เราจึงสามารถใช้เครื่องสูบน้ำมันสูบน้ำมันขึ้นมาได้ ชั้นน้ำมันจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละๆพื้นที่ และใช้ความลึกในการขุดที่แตกต่างกันไป ประมาณ 70% ของหลุมผลิตน้ำมันทั่วโลกจะใช้เครื่องสูบน้ำมันแบบคานโยก เป็นการเปลี่ยนพลักงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล โดยอาศัยหลักการทำงานของแมกคานิกส์ ระบบเกียร์เปลี่ยนการหลุดในแบบวงกลมให้เป็นแนวดิ่งเพื่อสูบน้ำมันขึ้นมา ก้านสูบโดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ความยาวของก้านสูบจะขึ้นอยู่กับความลึกของหลุม ช่วงสแตนเลทที่รับแรงจากคานโยกด้านบนจะยาวประมาณ 5 เมตร ก้านสูบที่ความลึกระดับมากกว่า 1000เมตรในหลุมจะทำหน้าที่ในการโยกกระบอกสูบที่มีขนาดยาวประมาณ 5 เมตรและเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ทำให้ได้น้ำมันดิบในแต่ละรอบการทำงานอยู่ประมาณ 1 ลิตร ในรอบการทำงาน 1 วันจะสามารถผลิตน้ำมันได้ถึงประมาณ 1 บาร์เรล(1 บาร์เรล ประมาณ 159 ลิตร ) เมื่อสูบน้ำมันขึ้นมาเเล้ว น้ำมันดิบจะถูกส่งผ่านไปยังท่อแล้วนำไปเก็บไว้ในที่เก็บน้ำมันดิบ เพื่อรอการขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันดิบต่อไป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “รู้จักกับ แท่นขุดเจาะ” ที่น่าสนใจกันข้างต้นนี้ เป็นอะไรที่น่าสนใจและดูมีความเสี่ยงกันใช่มั้ยหล่ะครับ แต่บอกได้เลยว่าเงินดีมากๆ เลยหล่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

About the author